สรรพคุณทางยา “กระเพรา”

1800

ตำรายาไทย: ใช้ใบและยอดกะเพราะ ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ทำให้เรอ แก้ท้องร่วง แก้คลื่นไส้อาเจียน ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง แก้อาการปวดท้องในเด็กทารก ใช้ใบสดตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำนำมาผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์ แล้วใช้ทาบริเวณ รอบๆสะดือ และทาที่ฝ่าเท้าแก้อาการปวดท้องของเด็กได้ ใช้เป็นยาเพิ่มน้ำนมสตรีหลังคลอด ขับน้ำนม บรรเทาอาการไข้เรื้อรัง แก้ปวดฟัน
ตำรายาไทยระบุว่า “กะเพราะทั้ง 2” (กะเพราะขาว-กะเพราแดง) ใช้ทั้ง 5 ส่วน มีรสเผ็ดร้อน เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แต่ในทางยานิยมใช้กระเพราะแดงมากกว่ากระเพราะขาว เพราะมีฤทธิ์ทางยามากกว่า
โบราณใช้น้ำคั้นใบกะเพรา กินเพื่อขับเหงื่อ แก้ไข้ ขับเสมหะ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ทาผิวหนังแก้กลากเกลื้อนและโรคผิวหนังอื่นๆ ใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู ใบกะเพราะทำเป็นยาชง ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ และขับลมในเด็กอ่อน คนไทยสมัยก่อนนิยมกินแกงเลียงใบกะเพราหลังคลอดบุตร เพื่อขับลมและบำรุงธาตุให้เป็นปกติ
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้ใบกะเพรา ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในกลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ตำรับ “ยาประสะมะแว้ง” มีสรรพคุณใช้บรรเทาอาการ ไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ ตำรับ “ยาเลือดงาม” มีส่วนประกอบของรากและใบกะเพราร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด ยาพื้นบ้านของอินเดีย: ใช้น้ำคั้นจากใบกินขับเหงื่อ แก้ไข้ ขับเสมหะ ทาที่ผิวหนังแก้กลาก หยอดหูแก้ปวดหู ชงกินเป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม ในชวาใช้ใบปรุงอาหาร รับประทานเพื่อขับน้ำนม

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
1. ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม ปวดท้อง ใช้ใบสด 1 กำมือ (น้ำหนักสดประมาณ 25 กรัม หรือใบแห้ง 4 กรัม ต้มให้เดือด เอาแต่น้ำดื่ม หรือจะใช้ใบกะเพราะแห้ง ชงกับน้ำดื่มเป็นยาขับลม ถ้าป่นเป็นผงให้ชงกับน้ำรับประทาน ในเด็กอ่อนใช้ใบสด ใส่เกลือเล็กน้อยบดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งหยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยขับลมและถ่ายขี้เทา
2. แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ) ใช้ใบและยอดสด 1 กำมือ (ประมาณ 25 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม