ส่วนใบของย่านางเป็นส่วนที่มีประโยชน์และถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคมากที่สุดเพราะเป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็นและมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูงนอกจากนี้ยังถูกจัดเอาไว้ในตำราสมุนไพรว่าเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย
ย่านางเป็นไม้เถาเลื้อยยืนต้นพบได้มากในบริเวณป่ารกและป่าโปร่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลำต้นเดี่ยว เป็นเถากลมสีเขียวขนาดเล็ก ยาวได้มาถึง 5-10 เมตร รากมีลักษณะกลมๆแทงลึกลงไปในดินเป็นหัวขนาดใหญ่ มีรากแขนงและรากฝอยเล็กๆสีน้ำตาลออกรอบลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวออกติดกับลำต้นแบบสลับรูปร่างใบคล้ายรูปไข่ ปลายใบเรียว ฐานใบมน ขอบใบเรียบ หน้าและหลังใบเป็นมันสีขาวเข้มดอกมีสีเหลืองขนาดเล็กออกตามซอกใบและโคนก้าน ออกดอกในช่วงเดือนเมษายน ผลมีลักษณะทรงกลมรีขนาดเล็ก ผลสีเขียวแต่เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีแดงสด ผิวเกลี้ยงฉ่ำน้ำ มีเมล็ดแข็ง ออกเป็นพวงตามข้อและซอกใบ
ย่านางสามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ปลูกง่ายดูแลง่ายชอบแสงแดแและทนความแล้งได้ดีปลูกได้ทุกฤดู แต่การปลูกในฤดูฝนจะช่วยให้ต้นงอกงามดีกว่าการปลูกในช่วงอื่น ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและใช้หัวใต้ดินหรือเถาแก่ที่มีหัวติดอยู่มาปักชำยอด
ย่านางขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องสรรพคุณทางยาในด้านการถอนพิษไข้ แต่ละส่วนของย่านางสามารถใช้ถอนพิษไข้ได้ทั้งสิ้นและมีสรรพคุณอื่นที่แจกต่างกันไปในแต่ละส่วน ใบมีรสจืดออกฝาดเป็นส่วนทีมีประโยชน์และถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคมาที่สุดเพราะเป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็น และมีสารต้านอนูมูลอิสระในปริมาณสูง ตำรับยาโบราณนิยมรับประทานใบย่านางเพื่อถอนพิษ แก้ไข้ แก้อาการเชื่องซึม แก้อาการตัวร้อนจากพิษไข้ เถาและดอก มีรสจืดปนขม ช่วยแก้ไข้กลับซ้ำที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย รากมีรสขม ช่วยแก้พิษสุรา แก้ไข้รากสาด ไช้ทับระดู แก้อาการท้องผูก อาหารไม่ย่อย ช่วยบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ