“มะกรูด”ช่วยล้างสารพิษ ลดไขมันในเลือด มีสรรพคุณดีต่อร่างกาย

2285

มะกรูดเป็นพืชสกุลส้ม มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาลี)

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กเป็นไม้เนื้อแข็งลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบขนาดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบเรียงสลับ รูปไข้ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆมีด้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ โดยใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 ถึง 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่ายมีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาว ผิวขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลมีต่อมน้ำมันกระจ่าย อยู่ที่ผิว(hesperidium) ผลอ่อนเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่า และไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก

สรรพคุณ

เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่นท้องจุกเสียด กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้ขับเสมหะเป็นพิษ

การใช้ประโยชน์

– การใช้มะกรูดสระผมก็จะรู้จักมาแต่สมัยโบราณ วิธีการสระ บ้างก็ใช้ผลดิบผ่าแล้วบีบเอาน้ำสระผมโดยตรง บ้างก็นำไปเผา หรือต้มก่อนสระ

– น้ำมะกรูดมี รสเปรี้ยว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ใช้น้อยกว่ามะนาว ใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนมะนาว เช่น ปลาร้าหลน น้ำพริกปลาร้่า น้ำพริกมะกรูด มะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนาสามารถนำมาปรุงอาหารได้ในบางชนิด ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก ใบมะกรูดใส่ในต้มยำทุกชนิด น้ำยาขนมจีน ยำหอย ใส่ในแกง เช่น แกงเผ็ด แกงเทโพ แต่ถ้าใส่มากเกินไปก็จะทำให้มีรสขมกลิ่นฉุน ทั้งในใบและผลบางครั้งนำมาไล่แมลง หรือใช้เป็นยาดับกลิ่นในห้องสุขาได้เช่นกัน(วิกิพีเดีย)