ผักเสี้ยน เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิด ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ของทวีปยุโรป, แอฟริกาและเอเชีย เป็นวัชพืชที่ขึ้นตามท้องนาและริมลำธาร ผักเสี้ยนเป็นไม้ล้มลุก สูง 30-150 เซ็นติเมตร ตามลำดับและมีขนปกคลุม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยรูปไข่กลับหรือรูปใบหอกกลับ 3-5ใบ ยาว2.5-5 เซ็นติเมตร ใบประดับ 3 ใบย่อย ยาว 0.5-2.5 เซ็นติเมตร ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 5-20 เซ็นติเมตร ก้านดอกยาว 1-2 เซ็นติเมตร กลีบเลี้ยงรูปใบหอก ยาว 6 มิลลิเมตร กลีบดอกรูปรีหรือรูปไข่ สีขาวหรืออมม่วง ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ก้านกลีบยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านชูเกสรร่วมยาว 8.0 – 2.3 เซ็นติเมตร ก้านชูอับเกสรสีม่วง ยาว 1-2 เซ็นติเมตร อับเรณูรูปขอบขนานสีเขียวอมน้ำตาล ยาว 1-3 มิลลิเมตร รังไข่มีก้านสั้นๆยาว 1-1.4 ซ.ม ผลยาว 4-9.5 ซ.ม ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลแดงปนดำ ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร
– ทั้งต้นผักเสี้ยนมีกรดไฮไดรไซยานิก แต่จะลดลงเมื่อนำไปหมักดองหรือถูกความร้อน ผักเสี้ยนนิยมนำมาดอง กินเป็นผักแกล้มหรือกินกับขนมจีนน้ำยา ใบมีสรรพคุณตำพอกฝีและแก้ปวดเมื่อย น้ำคั้นจากใบผสมกับน้ำมัน ใช้แก้ปวดหู
อ้างอิงข้อมูลาก วิกิพีเดีย,มูลนิธิหมอชาวบ้าน,สำนักงานหอพรรณไม้