กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญท้องถิ่นอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง,แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)
สรรพคุณ
ช่วยลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือด ช่วยรักษาแผลทั้งแผลสดและแผลเรื้อรัง ลดการเกิดลิ่มเลือด ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็ง
น้ำมันหอมระเหยจากกระเทียมมีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ก่อโรคติดเชื้อในช่องปาก หูอักเสบ และผิวหนัง
มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Aspergillus fumigatus ที่ทำให้ก่อโรคติดเชื้อในปอด
ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก และทำให้เกิดโรคมุตกิดระดูขาวที่มักจะเกิดในหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
ลดระดับความดันโลหิต
มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด
สารอัลลิซิน (Allicin) และอะโจอีน (Ajoene) ในกระเทียม ช่วยลดการซึมผ่านของคอเลสเตอรอล จากลําไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด
ป้องกันการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด
ลดระดับน้ำตาลในเลือด
ช่วยบรรเทาอาการอักเสบรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และช่วยลดอาการแน่นจุกเสียดในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ
แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย เนื่องจากมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของเมตาบอลิซึม จึงทำให้ร่างกายสามารถย่อยอาหารได้ดีขึ้น
การใช้กระเทียมในการรักษาโรค
สดทา ทำเช่นนี้ทุกวัน 10 วันก็จะหาย
กระเทียมแคปซูล ดีไหม?
นอกจากการนำกระเทียมมาปรุงอาหารเมนุูต่างๆ หรือรับประทานแบบสดๆ หรือรับประทานแบบดองแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำกระเทียมไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารสกัดน้ำมันกระเทียม เป้นต้น
กระเทียมมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ยับยั้งการเกาะกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดเหลวและแข็งตัวช้า ดังนั้นต้องระมัดระวังการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin หรือยาต้านการจับตัวของเกร็ดเลือด และยา NSAIDs บางชนิด เช่น aspirin และ indomethacin เพราะจะทำให้ค่าการแข็งตัวของเลือดลดลง และอาจทำให้เลือดออก
ถ้าอ่านจบแล้วรู้สึกเหมือนได้กลิ่นกระเทียมเจียวหอมๆ ลอยมาแตะจมูก อาหารมื้อต่อไปก็อย่ารีรอ ลองมองหาเมนูที่มีกระเทียมเป็นส่วนประกอบมาชิมกันดูนะ ถ้าคุณไม่ได้อยู่กลุ่มยกเว้นการบริโภค แต่อย่าลืมว่า ควรชิมแต่พอดี และกินอาหารให้หลากหลายจะดีต่อสุขภาพที่สุด
ข้อมูลจาก: วิกีพีเดีย