ประโยชน์ของ”มะยม” ผลไม้พื้นบ้านที่มีดี

1454

มะยมใช้รับประทานเป็นผลไม้สดและแปรรูป เช่น แช่อิ่ม ดอง น้ำมะยม แยม หรือกวน ใช้ทำส้มตำ ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสด กินกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ ขนมจีน ในอินเดียและอินโดนีเซีย นำใบไปปรุงอาหาร ผลใช้ปรุงรสอาหารในอินโดนีเซีย ในฟิลิปปินส์ใช้ทำน้ำส้มสายชู หรือกินดิบหรือดองในเกลือและน้ำส้มสายชู ในมาเลเซียนิยมนำไปเชื่อม ในอินเดียและอินโดนีเซียนิยมนำใบมะยมไปประกอบอาหาร เนื้อไม้แข็งแรง ทนทาน แต่ต้นไม่ใหญ่มาก ในอินเดีย เปลือกไม้ใช้เป็นแหลางของแทนนิน

ผลมะยมมีฤทธิ์กัดเสมหะและเป็นยาระบาย ใบเป็นส่วนประกอบของยาเขียว ตำราไทยใช้ รากแก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน ใบ ต้มน้ำอาบแก้คัน แก้ไข้ เหือด หิด อีสุกอีใส ในผลมีแทนนิน เดกซ์โทรส เลวูโลส ซูโครส วิตามินซี ในรากมี beta-amyrin, phyllanthol, แทนนิน ซาโปนิน กรดแกลลิก น้ำเชื่อมใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร ในอินเดียผลใช้เป็นตัวกระตุ้นเลือดสำหรับตับ มะยมมี 4-hydroxybenzoic acid กรดคาเฟอิก adenosine, kaempferol และกรดไฮโปแกลลิก สารสกัดจากมะยมที่สกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการเจริญของ E. coli O157:H7 และ Propionibacterium acnes

ที่มา: อัฐญาพร ชัยชมภู และนฤมล ทองไว. 2554. การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดโดยใช้สารสกัดสมุนไพรพื้นบ้าน. การประชุมวิชาการครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน