ประโยชน์ของ”บัวหลวง”

1537

สรรพคุณของบัวหลวง
1. รากและเม็ดบัวมีรสหวานเย็นและมันเล็กน้อย ช่วยบำรุงกำลัง ใช้เป็นยาชูกำลัง (ราก, เม็ดบัว, ดอก)
2. ช่วยบำรุงร่างกาย แก้กษัย (เม็ดบัว, ใบอ่อน, กลีบดอก)
3. เม็ดบัวมีคุณค่าทางอาหารสูง ช่วยเพิ่มพลังงานและไขมันในร่างกาย จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งหายป่วยใหม่ ๆ ที่ยังมีอาการอ่อนเพลียอยู่ หรือใช้เป็นอาหารบำรุงกำลังของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้อง มีอาการอ่อนเพลีย หรืออาเจียน (เม็ดบัว) หรือจะใช้
รากต้มเป็นน้ำกระสายดื่มแก้อาการอ่อนเพลียก็ได้ (ราก) ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย (เม็ดบัว)

4. ดอกบัวสดสีขาวใช้ต้มกับน้ำดื่มติดต่อกัน จะมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ทำให้สดชื่นขึ้น และช่วยลดอาการใจสั่น (ดอก, เกสร, กลีบดอก)
5. ช่วยบำรุงโลหิต (เม็ดบัว, ใบแก่)
6. ช่วยลดความดันโลหิตสูงและลดไขมันในเส้นเลือด ด้วยการใช้ใบสดหรือแห้งนำมาหั่นเป็นฝอยต้มกับน้ำพอท่วมจนเดือดประมาณ 10-15 นาที ใช้ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง โดยให้ดื่มติดต่อกันอย่างน้อย 20 วัน และตรวจวัดความดันเป็นระยะพร้อมทั้ง
สังเกตอาการ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง ปวดท้ายทอย หากดื่มแล้วความดันโลหิตลดลงก็ต้องหมั่นตรวจวัดความดันอย่างน้อยเดือนละ 2-3 ครั้ง พร้อมทั้งสังเกตอาการดังกล่าวไปด้วย ถ้าหากพบว่ามีอาการผิดปกควรรีบไปพบแพทย์ (ใบ)
หรือจะใช้ดีบัวประมาณ 5-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม ก็มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตได้เช่นกัน อีกทั้งยังช่วยขยายเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจในกรณีที่เส้นเลือดตีบ (ดีบัว)

7. ช่วยบำรุงประสาทและสมอง (เม็ดบัว, เกสร)
8. ช่วยผ่อนคลายความเครียด อาการหงุดหงิดนอนไม่หลับ ช่วยทำให้นอนหลับสบาย ด้วยการใช้ดีบัวประมาณ 5-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม (ดีบัว)
9. รากบัวหลวงช่วยเสริมฤทธิ์ยานอนหลับ ทำให้หลับสบาย โดยมีฤทธิ์ไม่แรงมากนัก (ราก)
10. เม็ดบัวมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งตับ (เม็ดบัว)
11. ช่วยชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ และผิวพรรณ (เม็ดบัว)
12. เกสรบัวหลวงนำมาใช้ปรุงเป็นยาหอม เป็นยาชูกำลัง บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นใจ แก้อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เป็นยาสงบประสาท และช่วยขับเสมหะ โดยใช้เกสรแห้งนำมาบดเป็นผงครั้งละ 5-1ช้อนชา ใช้ชงกับน้ำร้อนดื่ม หากเป็นเกสรสด ให้
ใช้ประมาณ 1 หยิบมือ นำมาชงกับร้อน 1 แก้ว (ขนาดประมาณ 240 มิลลิลิตร) ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที แล้วนำมาดื่มในขณะที่ยังอุ่นครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 รอบ (เกสรตัวผู้)[1],[4],[5],[12]
13. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (ดอก, เกสรตัวผู้, เม็ดบัว)
14. ดีบัวมีสาร Methylcorypalline ซึ่งเป็นตัวช่วยทำให้เส้นเลือดขยาย ใช้เป็นยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ แก้เส้นเลือดตีบในหัวใจเนื่องจากมีไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ และช่วยบำรุงหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้ดีบัวแห้ง 1
หยิบมือ นำมาชงกับน้ำร้อน 1 แก้วปกติ แล้วใช้ดื่มในขณะที่ยังอุ่น ๆ ก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือจะปั้นเป็นเม็ดขนาด 5 กรัม ใช้รับประทานครั้งละ 3-5 เม็ด ก่อนอาหารเช้าและเย็นก็ได้ แถมยังช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยแก้ไข้และช่วยบำรุงร่างกาย
ได้อีกด้วย (ดีบัว)

15. ช่วยคุมธาตุในร่างกาย (เกสรตัวผู้)
16. เหง้าหรือรากบัวใช้ต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติในเด็ก (ราก)
17. ช่วยลดไข้ (ราก, ดีบัว) ช่วยแก้ไข้ (เกสรตัวผู้, ใบแก่, ดอก)
19. 18. ช่วยแก้ไข้รากสาดและไข้มีพิษร้อน (ดอก, เกสร)
20. ช่วยระงับอาการหวัดคัดจมูก ลดเสมหะ ด้วยการใช้ใบบัวมาหั่นเป็นฝอยแล้วผึ่งแดดให้แห้ง ใช้ทำเป็นมวนสูบเพื่อช่วยบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก (ใบ)
21. ใบแก่ใช้สูดกลิ่น ช่วยแก้ริดสีดวงจมูก (ก้านดอก, ใบแก่)
22. ช่วยแก้อาการไอ (ราก)
23. ช่วยแก้เสมหะ (ราก, เหง้า, เม็ดบัว, ดอก, เกสรตัวผู้)
24. ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (เกสร, เม็ดบัว, ราก)
25. ช่วยแก้อาการติดเชื้อในช่องปาก ด้วยการใช้ดีบัวประมาณ 5-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม (ดีบัว)[
26. ช่วยแก้ลม (เกสร)
27. ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด (ดีบัว)
28. ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล (เกสรตัวผู้)
29. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ราก, เม็ดบัว) หรือจะใช้ใบนำมาหั่นเป็นฝอยชงดื่มแทนน้ำชา ก็ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำได้เช่นกัน (ใบ)[8] หรือจะใช้ดีบัวนำมาต้มเอาน้ำดื่มก็ช่วยแก้กระหายน้ำด้วยเช่นกัน และยังช่วยอาการกระหายหลังอาเจียนเป็น
เลือดได้ด้วย (ดีบัว)

30. ช่วยบำรุงปอด (เกสรตัวผู้)
31. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (เกสรตัวผู้, ฝัก, เปลือกฝัก)
32. ช่วยแก้อาการท้องเดิน (ยางจากก้านใบและก้านดอก, เปลือกฝัก)
33. กลีบดอกชั้นในและก้านใบ ใช้เป็นยาแก้อาการท้องร่วง (ใบ, กลีบดอกชั้นใน)[6]ส่วนชาวอินเดียจะให้เด็กดื่มน้ำรากบัว เพื่อช่วยระงับอาการท้องร่วง (ราก, สายบัว)
34. เม็ดบัวช่วยรักษาอาการท้องร่วงและบิดเรื้อรัง (เม็ดบัว)
35. ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ (เม็ดบัว)
36. ช่วยสมานแผลในมดลูก (เปลือกฝัก)
37. ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะบ่อย (ดอก, เกสรตัวผู้, ราก)
38. กลีบดอกชั้นในนำมาตำใช้พอกแก้โรคซิฟิลิส (กลีบดอกชั้นใน)
39. ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (เกสรตัวผู้)

40. ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ (เกสรตัวผู้[4], เม็ดบัว)
41. ช่วยบำรุงถุงน้ำดี (ดีบัว)
42. ช่วยแก้ดีพิการ (ราก, เม็ดบัว)
43. ช่วยบำรุงตับ (เกสรตัวผู้)
44. ช่วยบำรุงไต ม้าม ตับ (เม็ดบัว)
45. ดีบัวช่วยแก้อหิวาตกโรค โดยชงดีบัวในน้ำร้อน แล้วดื่มในขณะที่ยังอุ่นครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง (ดีบัว)
46. ช่วยแก้พุพอง (ราก, เม็ดบัว)
47. รากหรือเหง้าช่วยห้ามเลือด ทำให้เลือดหยุด (ราก, ดอก, กลีบดอก, ก้านใบ)
48. ใช้เป็นยาฝาดสมาน ช่วยสมานแผล (ดอก, เกสรตัวผู้[1],[6], เปลือกฝัก)
49. ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อนหรืออาการฝันเปียก (เกสรตัวผู้[4], เม็ดบัว, ดีบัว)
50. ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน (ดอก)
51. ช่วยแก้พิษเห็ดเมา (ฝัก)
52. บัวทั้งต้นใช้แก้พิษจากการรับประทานเห็ดพิษและอาการเป็นพิษจากพิษสุราเรื้อรัง ด้วยการใช้ทั้งต้นประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มรับประทาน (ทั้งต้น)
53. ในบางตำราระบุว่าใบบัวสามารถใช้รักษาอาการปวดบวมและอาการอักเสบได้ ด้วยการนำใบบัวหลวงมาล้างให้สะอาดแล้วโขลกให้ละเอียด จากนั้นสกัดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วนำสารสกัดที่ได้มาทาบริเวณที่มีอาการ (ใบ)
54. ช่วยบำรุงไขข้อ เส้นเอ็น แก้โรคข้อต่าง ๆ (เม็ดบัว)
55. ช่วยแก้อาการช้ำใน (ดอก)
56. ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี (เม็ดบัว, ดีบัว, ดอกบัว)
57. ใบแก่ใช้รับประทานจะช่วยเพิ่มแรงเบ่งขณะคลอดบุตรของสตรี (ใบแก่) ช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย (ดอกบัว)
58. ช่วยขับรกออกมาให้เร็วขึ้น (ฝัก)