– กฐิน(บาลี-กธิน) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฏกเถรวาท เป็นชื่อเรียกว่าผ้าไตรจีวร ที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับผ้านุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรม ประเภทหนึ่งตามวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีการกำหนดเวลาคือพระสงฆ์สามารถทำสังฆกรรมนี้ได้นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ไปจนถึง 15 ค่ำเดือน 12 เท่านั่น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้่างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์พระภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด ดังนั่นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจะเพราะซึ่งนอกจากพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดที่แตกต่างจากวินัยเถรวาท
– การได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐิน ตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานถวายผ้าพระกฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้าพระกฐินนั่น จึงเป็นสังฆทาน คือถวายแก่พระสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์สมมุติ และการทานที่มีกำหนดเขตถวายแน่นอน พระสงฆ์วัดหนึ่งๆสามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีทอดกฐินเป็นบุญประเพณีที่นิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกของคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย
– การทอดกฐินของพุทธศาสนิกไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์จัดเป็นราชประเพณีประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่สนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช่ในสังฆกรรมสำคัญของพระสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไปแต่กลับให้ความสำคัญของบริวานของกฐินทานแทน เช่น เงินหรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านั่นมาพัฒนา ถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน
ความสำคัญพิเศษที่แตกต่างจากทานอื่นๆ
1.จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั่น จะถวายเฉพาะเจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเท่านั่น
2.จำกัดเวลา เริ่มต้นการถวายกฐิน 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึง 15 ค่ำ เดือน 12
3.จำกัดงาน คือพระภิกษุที่กรานกฐิินต้อง ตัดเย็บ ย้อม และครองให้เสร็จในวันที่กรานกฐิน
4.จำกัดไทยธรรม คือผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่พระวินัยกำหนดไว้
5.จำกัดผู้รับ คือพระภิกษุที่รับกฐินคือผู้ที่จำพรรษาในวัดนั่น โดยไม่ขาดพรรษาตั้งแต่ 1รูปขึ้นไป
6.จำกัดคราว วัดๆหนึ่งรับได้ปีละหนึ่งครั้งเท่านั่น
7.เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต
ข้อมูล https://th.m.wikipedia.