บานไม่รู้โรยป่า เป็นไม้ล้มลุกและไม้ยืนต้นพุ่ม สูงประมาณ 40 – 100 เมตร ในประเทศไทยพบมากในทางภาคเหนือ ต้นค่อนข้างกลมอวบน้ำ สีเขียวแกมขาวยาวตรง กิ่งแขนงเลื้อย ทอดไปเป็นรัศมีโดยรอบ ส่วนปล้องค่อนข้างยาว ลำต้นมีขนเล็กๆปกคลุม ใบเดียวยาว เรียงตัวแบบตรงข้าม ก้านใบยาว 2 – 5 มม. โคนก้านเป็นร่องเล็กๆแล้วแผ่เป็นกาบหุ้ม ข้อ ใบรูปไข่กลับยาวรี ถึงรูปใบหอกโคนใบแหลมและattenuate ปลายใบค่อนข้างแหลมหรือมน ผิวใบมีขน ปกคลุม ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 00.5-1 ซม. ยาว 2-3.5 ซม.
ดอกช่อเชิงลดรูปขอบขนานเกิดที่ปลายกิ่ง ดอกยาว 5-15 ซม. ปลายก้านดอกมี ใบประดับ รูปร่างคล้ายใบ 1 คู่ อยู่ใต้กลุ่มดอกย่อย แต่ละดอกย่อยมีใบประดับ1อัน รูปไข่ปลายแหลม กว้าง 1.5-2 มม.ยาว 2-3 มม. กลีบ 5 กลีบ แยกกันสีขาว บาง และแห้ง รูปไข่หรือรูปขอบขนาน ปลายแหลมกว้าง 1-1.5 มม. ยาว 4-8 มม. โคนกลีบมีขนสีขาว เกสรเพศผู้ จำนวน 5 อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นหลอดเยื้อบางๆ ความยาวหลอด 3-4 มม. อับเรณูสีเหลือง เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ superior ovary สีเขียวขนาด 0.5-1 มม. ก้านเกสรสั้นๆยอดเกสรเป็น 2 แฉก ดอกบานเวลากลางวันและหุบในเวลากลางคืน ผลแห้งแบบผลกระเปาะ รูปไข่กลับ มีกลีบและใบประดับห่อหุ้ม
สรรพคุณของบานไม่รู้โรยป่า
– ดอกนำมาต้มกับน้ำแก้อาการปวดศรีษะ
– ดอกนำมาต้มกับน้ำแก้ตาเจ็บ
– ใช้เป็นยาแก้ไอ ไอกรน ระงับหอบหืด ด้วยการใช้ดอกนำมาต้มกับน้ำกิน
– ทั้งต้นใช้ผสมเถาเขี้ยวงู ลูกใต้ใบ สะเดาดินและไมยราบเครือ นำมาต้มกับน้ำเป็นยาแก้เบาหวาน
– ใช้แก้เด็กเป็นโรคลมชัก ด้วยการใช้ดอก 10 ดอก นำมาตุ๋นกับตั๊กแตนแห้ง 7 ตัว ใช้รับประทานเป็นยา
– ดอกมาต้มกับน้ำเป็นยาแก้ปิด
– ต้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับนิ่ว
– รากมีสรรพคุณแก้โรคปัสสาวะอักเสบ และช่วยขับนิ่ว
– ใช้เป็นยาแก้ระดูขาวของสตรี
– ลำต้นและดอกนำมาต้มผสมรวมกันใช้เป็นยาพอกรักษาแผล และช่วยรักษาแผลผื่นคัน
อ้างอิงข้อมูลจาก