“บักก้นคก หรือ หมากก้นคก” ผลไม้อีสานที่กำลังจะสูญพันธ์

4675

บักก้นคก หรือ หมากก้นคก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ในแต่ละพุ่มหรือก่อ จะมีต้นหลายต้นรวมกัน

ลักษณะ ใบหมนใบแก่มีสีเขียวเข้มส่วนใบอ่อนมีสีเขียวอ่อนๆส่วนด่านลางใบมีขนบางๆขนจะร่วงเมื่อมีอายุมากขึ้น ส่วนลำต้นมีขนาดเล็ก กิ่งและต้นเป็นสีน้ำตาล สูงประมาณ 30 ถึง 60 เซ็นติเมตร แตกกิ่งก้านระดับเหนือดิน

ราก เป็นระบบรากแก้วหรือรากแขนง ความลึกของราก 30ถึง 50เซ็นติเมตร รากมีสีดำ

ดอก ออกดอกเดียว หรือหลายดอกออกตามง่ามใบ ก้านดอกสั่น มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็ก3ดอก รูปทรงสามเหลี่ยม มีขนนุ่มสีเหลืองอ่อนปกคลุม

ผล เป็นรูปทรงกระบอก มีส่วนเว่าส่วนอ้วนต่างกัน ขนาดของผลกว้าง1.3ซ.ม ยาว1.2ซ.ม ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่สีเขียวเข้ม ผลสุกมีสีเหลือง มีขนอ่อนปกคลุม ขนของผลอ่อนมีสีขาวเหลือง ขนของผลแก่มีสีเหลืองเข้มขึ้น ก้านผลยาว ประมาณ 50 มิลลิเมตร เปลือกหุ้มผลเนื้อบาง ภายในมีเมล็ดสีดำ 1-2 เม็ด เนื้อผลใช้รับประทาน มีรสหวาน ระยะผลสุก เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม

สรรพคุณบักก้นคก

1.รากมีรสเย็นใช้เป็นยาแก้ตัวร้อน ดดับพิษข้ทั้งปวง ดับพิษ ตตานซาง แแก้วัณโรค

2.ในภาคอีสานใช้เง้า เเปลือก แและเนื้อๆไม้มาใช้เป็นยาแก้ท้อฃเสียในเด็ก ถถ่ายกะปริบกะปอยเป็นมูกเลือด

3.ใช้ต้นหรือรากนำมาต้มเป็นยาแก้ปวดท้อง