จิ้งโกร่ง..แถวบ้านเรียก”จิโป้ม ” อาหารชั่นเยี่ยมของคนอีสาน

4040

จิ้งโกร่ง เป็นแมลงชนิดหนึ่งสามารถรับประทานได้ มีลักษณะคล้ายจิ้งหรีด ชื่อพื้นเมืองอื่นๆของจิ้งโกร่ง คืออ้ายโกร่ง หัวตะกั่ว จี้กุ่ง ขี้กุ่ง จี่นายโม้ ขี้หนาย จี้ป่ม และจี้โป่ง

ลักษณะของจิ้งโกร่ง

– จิ้งโกร่ง หรือ จิโป้ม รูปร่างคล้าย จิ้งหรีด ค่อนข้างอ้วนมีลำตัวยาวประมาณ 4.5 เซ็นติเมตร กว้าง 1 เซ็นติเมตร มีสีน้ำตาลหนวดยาวแบบเส้นด้าย หัวกลมและตัวใหญ่ ปากแบบกัดกิน ปีกมีลายเส้นเล็กน้อย ตัวผู้สามารถทำเสียงได้โดยใช้ขอบปีกคู่หน้าสีกัน มีอวัยวะฟังเสียงอยู่ที่บริเวณขาหน้า ส่วนเพศเมียไม่มีอวัยวะในการทำเสียงปีกจึงมีลักษณะเรียบ แต่ปลายท้องมีอวัยวะการวางไข่รูปเข็มค่อนข้างยาวยื่นออกมาข้างไม่พบในเพศผู้

แมลงชนิดนี้จัดเป็นอาหารเสริมรสเลิศของบางคนในชนบท โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วงจรชีวิต

– โดยปรกติจิโป้มมีอายุเฉลี่ย 330 วัน ตัวเมียอายุยืนกว่าตัวผู้ ตัวเมีย 1 ตัว ว่างไข่ได้ประมาณ 120 ฟอง จากตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 87 วัน หาอยู่หากิน 180 วัน ที่เหลือคือการทำรัง(ขุดรู)และสืบพันธุ์

การจับคู่ผสมพันธุ์

– ตัวเต็มวัยอยู่ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน(ฤดูหนาว ช่วงเก็บเกี่ยวข้าว)โดยในช่วงนี้จิโป้มตัวผู้จะทำรัง หรือขุดรู เพื่อเตรียมผสมพันธุ์ในช่วงเวลากลางคืน จะทำเสียงเพื่อเรียกตัวเมีย เมื่อตัวผู้มาหาจะเดินวนรอบๆตัวเมีย มักพบการต่อสู้เพื่อแย่งตัวเมียอยู่เสมอ

– พฤติกรรมการผสมพันธุ์เกิดขึ้นในกลางคืน ตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุ์จะตามหาตัวผู้จากนั่นจะซุกตัวใต้ท้องตัวผู้ ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาทีจากนั่นตัวผู้จะอยู่นิ่งๆและตัวเมียขึ้นไปอยู่บนหลัง ตัวผู้จะกระดกปลายท้องขึ้น ในขณะที่ตัวเมียโน้มอวัยวะเพศลง ให้แนบกับถุงน้ำเชื้อตัวผู้ ถุงน้ำเชื้อมีลักษณะถุงใสๆ ถุงนี้จะมาติดที่ปลายส่วนท้องของตัวเมีย ช่วงนี้ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที จากนั้นตัวเมียจะพักอยู่นิ่งๆประมาณ 5-10 นาที แล้าพาตัวเมียเข้ารู

การกินอาหาร

จิโป้มกินหญ้า ใบไม้ และผลไม้พื้นเมืองเป็นอาหาร เช่น ในภาคอีสานจิโป้มจะกินหญ้าปล้อง ผักโขม ผักกะแยง, และหญ้า วัชพืชอื่นๆ เป็นอาหารในฤดูทำรัง ช่วงวางไข่มักจะสะสมผลไม้ ดอกหญ้า และอื่นๆไว้ในรังเพื่อเป็นอาหารในหน้าฝน จะสะสมลูกหว้าและผลไม้ลูกเล็กๆไว้ในรัง

ความสำคัญต่อระบบนิเวศ

จิโป้มถือเป็นตัวแปรในการหมุนเวียนแร่ธาตุอาหารในดินและเป็นอาหารให้สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลานและนก เป็นอาหารให้กบ เขียด อึ่งอ่าง ให้ระบบนิเวศสมบูรณ์ โบราณอีสานหากถิ่นไหนจิโป้มสมบูรณ์ ครอบครัวจะเป็นปึกแผ่น พี่น้องฮักกันสามัคคีปลูกพืชระยะสั้นจะได้ผลดีแล อีกทั้งยังเป็นอาหารของคนในท้องถิ่น

ข้อมูลจาก iasn.clubs.chula.ac.th,วิกิพีเดีย