“วิตามินซี” คือกรดแอสคอร์บิก เป็นวิตามินซีที่ละลายในน้ำ มีฤทธิ์เป็นกรด มีรสเปรี้ยวละลายน้ำได้ดี สลายน้ำได้ง่ายโดยเฉพาะเมื่อถูกความเย็น พืชและสัตว์ส่วนมากสามารถสร้างสารสังเคราะห์กรดแอสคอร์บิกได้ แต่คนเราสังเคราะห์ ไม่ได้ต้องได้รับจากสารอาหาร
วิตามินซีทำหน้าที่อย่างไรในร่างกาย
1.ช่วยสังเคราะห์คอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ยึดเหนี่ยวเนื้อเยื่อให้แข็งแรง ถ้าขาดวิตามินซีโครงสร้างของคอลลาเจนจะเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ผนังเม็ดเลือดไม่แข็งแรง
2.ช่วยในการสร้างชนิดหนึ่ง ชื่อ คาร์นิทีน ซึ่งทำหน้าที่ขนถ่ายไขมันเข้าไปในไมโทคอนเครียของเซลส์ เพื่อเผ่าผลาญให้ได้พลังงาน ทำให้ร่างกายนำไขมันไปเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ดี
3.ช่วยในการสังเคราะห์สารที่ ชื่อ แคทีโคลามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ส่งสัญญาณประสาท การขาดวิตามินซี ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า
4.เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินซีมีส่วนช่วยไม่ให้สารอนุมูลอิสระว่องไวต่อการทำฎิกิริยาจับกับสารอื่น ซึ้งเป็นการป้องกันต้นเหตุของการถูกทำลาย เช่น ถ้าอนุมูลอิสระจับกับกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ้งเป็นส่วนประกอบกับผนังเซลล์ จะทำให้ผนังเซลล์เสียหาย
5.ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก ที่ลำใส้โดยการเปลี่ยนธาตุเหล็กในรูปเฟอร์ริกที่ร่างการดูดซึมไม่ได้ให้กลายเป็นธาตุเหล็กในรูปของเฟอร์รัสซึ้งร่างกายสามารถดูดซึมได้
6.ช่วยยับยั้งการสร้างสารไนโตรชามีน ซึ้งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดจากสารไนไตรต์ทำปฎิกิริยากับอามีนที่มาจากโปรตีนในอาหาร ซึ่งมีมากเมื่อผ่านการหมักดอง โดยเฉพาะปลา ปฎิกิริยานี้เกิดได้ดีเมื่ออาหารถูกกลืนลงกระเพาะ เนื่องจากมีความเป็นกรดที่พอเหมาะ วิตามินซีช่วยยับยั้งปฎิกิริยานี้ได้บ้าง โดยการจับไนไตรต์ ไม่ให้รวมตัวกับอามีนในอาหารที่มีโปรตีน
7.ช่วยส่งเสริมความต้านทานต่อการติดเชื้อโดยระบบภูมิต้านทานของเม็ดเลือดขาว และช่วยในการสังเคราะห์อินเตอร์เฟียรอนที่มีกระบวนการตอบสนองต่อการอักเสบ และ ความแข็งแรงของเยื่อบุผิว วิตามินซีจึงมีบทบาทต่อภูมิทานของร่างกายไม่น้อย
8.ช่วยลดความรุนแรงของอาการและระยะเวลาการเจ็บป่วยจากโรคหวัดได้น้อยลง
ผู้ใดขาดวิตามินซีได้บ้าง
การขาดวิตามินซี พบได้ในผู้ที่ไม่ทานผักผลไม้ๆ ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ ผู้สูงอายุซึ้งมีข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร ผู้่่ป่วยเรื้อรัง หรือผู้ที่มีอาการเครียด และทารกที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยนมแม่
อาการขาดวิตามินซีในผู้ใหญ่ เริ่มจากอ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อและกระดูก กระวนกระวาย บาดแผลหายช้า ติดเชื้อได้ง่าย ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิด มีเลือดออกตามผิวหนัง
การได้้รับวิตามินซีสูงเกินไป จะทำให้มีอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยได้แก่ คลื่นใส้ ปวดท้อง และท้องเสีย ซึ้งเกิดจากวิตามินซีส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมจะดึงน้ำเข้าสู่ทางเดินอาหาร และขับออกทางอุจจาระ
วิตามินซีมีมากในอาหารชนิดใด
วิตามินซีมีมากจากพืชมากกว่าสัตว์ แหล่งอาหารที่ดีคือ ผลไม้ และผักสด ได้แก่ ฝรั่ง เชอร์รี มะขามป้อม มะกอกฝรั่ง ผลไม้ประเภทส้ม มะละกอสุก สตอเบอรี่ บรอกโคลี มะเขือเทศ และผักใบเขียว อาหารที่มีวิตามินซีน้อยหรือไม่มีเลยได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ และน้ำนม ดังนั่นควรทานผลไม้สดเป็นประจำ วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1-2 ส่วน แต่ควรระวังผลไม้ที่ให้น้ำตาลมากให้พลังงานสูง เช่นลำใย ทุเรียน มะม่วงสุกเป็นต้น (จากหนังสือแม่บ้าน)