ขี้เหล็ก หรือชื่อเรียกอื่นๆคือ ขี้เหล็กแก่น(ราชบุรี)ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลางบางที่) ผักจี้ลี้ (ฉาน, แม่ฮองสอน) ยะหา (มลายู, ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่(ภาคใต้) เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์
ต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง ผลัดใบ สูง 8 -15 เซ็นติเมตร ลำต้นมักคดงอเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนมีสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอก ช่อสีเหลืองที่ปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 อัน ผล เป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนมีสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของ ดอก และ ใบ ขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย, พม่า, อินเดีย, และมาเลเซีย เป็นต้น
ประโยชน์ของขี้เหล็ก
ในตำราการแพทย์แผนไทย ได้บันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต เป็นต้น
ใน พ.ศ.2485 ศาสตราจารย์ นพ อวย เกตุสิงห์ ได้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของต้นขี้เหล็ก ใบและดอกขี้เหล็กทำให้มีอาการง่วงซึมและมีพิษน้อยกว่าสมุนไพรชนิดอื่นๆที่ได้ศึกษา ต่อมาจึงมีผู้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดใบขี้เหล็กอีกครั้ง โดยใช้ แอลกอฮอล์ เป็นตัวทำละลาย พบว่าสารสกัดนี้มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะจนกระทั้งในปี พ.ศ 2513 คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอตทิงงัม ประเทศอังกฤษได้รายงานว่า สามารถสกัดสารชนิดใหม่ จากใบขี้เหล็กได้ โดยตั้งชื่อว่า บาราคอล (barakol) ซึ่งมีฤทธิ์กล่อมประสาทและลดความกังวล แต่ภายหลังมีการพบว่า มีพิษต่อตับได้เช่นกัน
อ้างอิงข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
เรียบเรียงโดย spfzone