ต้นปีบ มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆเช่น เต็กตองโพ่(กะเหรี่ยงกาญจนบุรีล) กาซะลอง, กาสะลอง กาดสะลอง หรือกาสะลองคำ (ภาคเหนือ), ปีบ ก้องกลางดง (ภาคกลาง) กางของ(ภาคอีสาน) เป็นต้น
ลักษณะของปีบ
ต้นปีบเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นตรง สูงประมาณ 5ถึง10 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มเป็นร่องลึก มีช่องอากาศ รากเกิดเป็นหน่อ เจริญเป็นต้นใหม่ได้ ขยายพันธุ์โดยการนำเมล็ดมาเพาะ หรือใช้ต้นอ่อนที่เกิดจากรากของต้นแม่ นำมาตัดเป็นท่อนสั้นๆ แล้วนำมาปักชำด้วยกระบะกรวย ที่ผสมด้วยขี่เถ้าแกลบก็ได้ ปีบเป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของพม่าและไทยที่ขึ้นอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ใบปีบ
– ลักษณะของใบมีใบประกอบแบบขนนก 3ชั้น มีความกว้างประมาณ 13-20 ซ.ม ยาวประมาณ 16-26 ซ.ม ก้านใบยาว 3.5-6 ซ.ม ที่ตัวใบจะประกอบไปด้วยแกนกลางยาวประมาณ 13-19 ซ.ม มีใบย่อย 4-6 คู่ กว้างประมาณ 2.5-3 ซ.ม และยาวประมาณ 4-5 ซ.ม ลักษณะใบมีรูปคล้ายหอกแกมไข่ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักเป็นซี่หยาบๆ เนื้อใบเกลี้ยงบางคล้ายกระดาษ
ดอกปีบ
– ลักษณะของเป็นช่อกระจุกแยกแขนง มีความยาวประมาณ 10-25 ซ.ม ดอกย่อยประกอบไปด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียว ดอกมีกลิ่นหอม มีความกว้างประมาณ 0.5ซ.ม และยาวประมาณ 6-10 ซ.ม เชื่อมกันเป็นหลอดปากแตร แยกออกเป็น 5 แฉก 3 แฉกรูปขอบขนาน 2แฉกบางค่อนข้างแหลม มีเกสรตัวผู้ 4 ก้าน 2คู่จะยาวไม่เท่ากัน และมีเกสรตัวเมีย1ก้าน อยู่เหนือวงกลีบ โดยดอกปีบจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษจิกายนจนถึงเดือนพฤษภาคม
สรรพคุณของปีบ
1.ดอกมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง(ดอก)
2.ช่วยบำรุงโลหิต(ดอก)
3.ช่วยบำรุงปอด(ราก)
4.ช่วยรักษาวัณโรค(ราก)
5.ใช้เป็นยารักษาไซนัสอักเสบ(ดอก)
6.ใช้รักษาริดสีดวงจมูก ด้วยการใช้ดอกที่ตากแห้ง นำมามวลเป็นบุหรี่สูบรักษาอาการ(ดอก)
7.ช่วยรักษาอาการหอบหืด หอบเหนื่อย ทำให้ระบบหายใจดียิ่งขึ้นโดยใช้ดอกปีบแห้ง มวลเหมือนบุหรี่ เพื่อรักษาอาการหอบหืดได้(ราก, ดอก)
8.ช่วยรักษาปอดพิการ(ราก)
9.ใช้เป็นยาแก้ลม(ดอก)
10.ใบใช้มวลเป็นบุหรี่สูบแทนฝิ่นเพื่อช่วยขยายหลอดลมและรักษาอาการหอบหืดได้เช่นกัน
ข้อมูลmedthai.com